ช่วงกลางปีค.ศ. 1980 ถึงปัจจุบัน ของ แฟรงก์ สเตลลา

ผลงานที่ติดอยู่สองข้างของฝาผนังจากผลงานที่ชื่อชุดว่า โมบิ-ดิก นวนิยายชิ้นเอกของเฮอร์แมน เมลวิลล์, โรมแรม เดอะ ริทซ์-คอร์ลตัน มิลเลเนีย, สิงคโปร์

สเตลลาสร้างงานชิ้นใหญ่ตอบสนองลักษณะทั่วไปของนิยายเรื่องโมบิดิก (Moby-Dick) ของเฮอร์แมน เมลวิลล์ ในระหว่างเวลานั้น งานของเขาก็มีความเป็นหนึ่งเดียวกันของลักษณะภาพแบนกว้างขวางกับรูปร่างเส้นที่เหมือนรูปทรงเรขาคณิต มีการเพิ่มมิติของงานจิตรกรรมมากขึ้น ทั้งรูปทรงฝักข้าวโพด เสาเหลี่ยม เส้นโค้งแบบฝรั่งเศส เส้นคลื่น และองค์ประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรม นำมาสร้างสรรค์ในผลงานประเภทงานตัดแปะ (collages) หรือ งานชิ้นต้นแบบ (maquettes) ที่นำมาทำให้ใหญ่ขึ้นและกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยมีผู้ช่วย วัสดุส่วนใหญ่เน้นพวกวัสดุอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ดิจิตอล

ราวปีค.ศ. 1990 สเตลลาเริ่มทำงานประติมากรรมลอยตัว ในพื้นที่สาธารณะ และพัฒนาเป็นโครงการสถาปัตยกรรม เช่นตัวอย่างในปีค.ศ. 1993 เขาออกแบบการตกแต่งทั้งหมดในโครงการโตรอนโตของโรงละครชื่อว่า “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” (Princess Of Wales Theatre) ซึ่งประกอบด้วย ฝาผนังขนาด 1,000 ตารางฟุต ข้อเสนอของเขาในปีค.ศ. 1993 ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์คุนสท์ฮัลเลอ และสวนในเมืองเดรสเดน ที่ประเทศเยอรมัน ไม่บรรลุผลสำเร็จ และในปีค.ศ. 1997 เขาออกแบบและควบคุมดูแลติดตั้งผลงาน "Stella Project" ขนาด 5,000 ตารางฟุต กลางโรงหนังและลอบบี้ของโรงอุปรากรมัวร์ส ที่โรงเรียนสอนดนตรีรีเบ็กก้าและจอห์น จูเนียร์ มัวร์ส วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยฮิวสตัน ในรัฐเท็กซัส[6]


งานของสเตลลาถูกรวบรวมไว้ในนิทรรศการศิลปะที่สำคัญๆ เช่นชุดงานที่ชื่อว่า “รูปร่างของผ้าใบ” (The Shaped Canvas) ในปีค.ศ. 1965 และ “ระบบจิตรกรรม” (Systemic Painting) (1966) ที่พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim Museum) และแสดงซ้ำในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ด้วยความมีชื่อเสียงของเขาทำให้สเตลลาถูกเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาบรรยายถึงความสำเร็จ หรือที่เรียกว่าการชุบตัวใหม่ของกระแสงานแนวนามธรรม และจิตรกรรมแบบพิลึกพิสดาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือภายใต้หัวข้อ “พื้นที่การทำงาน” (Working Space) โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปีค.ศ. 1986[7]

แฟรงก์ สเตลลา ยังคงทำงานที่รัฐนิวยอร์กจนถึงปัจจุบัน และถูกเรียกว่าเป็นศิลปินหนุ่มไฟแรง ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เขาได้เป็นสมาชิกกลุ่มสมาคมศิลปินเพื่อสิทธิมนุษยชน (Artiste Rights Society)[8] ตีพิมพ์ในบทความหน้าตรงข้ามกับบทความของบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ศิลปะ (The Art Newspaper)

ในปี ค.ศ. 2009 แฟรงก์ สเตลลาได้รับเหรียญรางวัลแห่งชาติสาขาศิลปะ โดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา[9]

ในปี ค.ศ. 2011 แฟรงก์ สเตลลา ได้รับรางวัลความสำเร็จในชีวิต (the Lifetime Achievement Award) ในสาขาประติมากรรมร่วมสมัย จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะศูนย์ประติมากรรมนานาชาติวอล์ฟสบุร์ก (the International Sculpture CenterKunstmuseum Wolfsburg)

และภายในปี ค.ศ. 2012 ผลงานย้อนหลังของแฟรงก์ สเตลลา ถูกนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะวอล์ฟสบุร์ก (The Kunstmuseum Wolfsburg)[10]

งานของเขาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะของอเมริกัน นับตั้งแต่ค.ศ. 1970 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ แฟรงก์ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีระบบสัญลักษณ์แตกต่างผลงานแบบศิลปะอเมริกัน ผลงานที่สเตลลานั้น ได้นำเสนอออกสู่สายตาสาธารณชน เช่นภาพที่มีชื่อว่า “ภาพวาดสีดำ” (Black Painting) ได้ปรากฏตัวครั้งแรก ผู้คนได้มองภาพนี้จากหลากหลายแห่งหน จะเห็นได้ว่า ภาพนี้ไม่มีรูปแบบอิทธิพลศิลปะเก่าเหลืออยู่เลย และแสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธสิ่งที่มีมาก่อนหน้า[11] กระแสภาพนี้ของสเตลลาในปีต่อมา มีการแพร่หลายอย่างมาก โดยเกิดจากการกระจายผลงานคัดลอกภาพออกไป ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ว่าภาพหรืองานศิลปะไม่จำเป็นต้องมีหนึ่งเดียวชิ้นเดียวในโลก แต่ความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างหากที่เป็นส่วนสำคัญของศิลปะ

และในช่วงนั้นเอง ศิลปะนามธรรมที่พบเห็นบ่อยๆ นั้นมีความแคบทั้งรูปแบบและขอบเขตทางความคิดที่จำกัด แต่งานของสเตลลานั้นมีความหลากหลายทำให้เกิดความตื่นตาตื่นใจต่อสายตาที่พบเห็น การประสบการณ์ความสำเร็จของเขานั้น มาจากการที่เขากล้าจะเสี่ยงในวิธีการวาดภาพแบบใหม่ มีความกล้าหาญที่จะลงมือทำ และมีอดทนต่อความล้มเหลวที่ผ่านมา งานของเขามีความหลากหลาย มันเป็นอะไรที่มากกว่ารูปแบบหรือเทคนิควิธีการทำงาน เนื่องจากผลงานของเขาครอบคลุมถึงความรู้สึกเมื่อเห็นผลงานกระทบสายตาอย่างยิ่งใหญ่